GPS ติดตามรถยนต์ เลือกแบบไหนดีกว่ากัน ?

388 จำนวนผู้เข้าชม  | 

GPS ติดตามรถยนต์ เลือกแบบไหนดีกว่ากัน ?

GPS ติดตามรถยนต์ เลือกแบบไหนดีกว่ากัน ?

หากคุณยังตัดสินใจไม่ได้ ว่าจะเลือกแบบไหน หรือยี่ห้อไหนดี ให้คุณพิจารณาจากความต้องการของคุณก่อนว่า คุณต้องการ GPS ใช้งานเพื่ออะไร และฟังก์ชั่นที่คุณต้องการ มีอะไรบ้าง

หลังจากนั้นคุณสามารถเลือกผู้ให้บริการที่มีฟังก์ชั่นหรือระบบตามความต้องการของคุณได้ เช่น ระบบการตรวจสอบหรือวัดระดับน้ำมัน , การติดตามแบบ Real Time , การย้อนดูการเดินทางย้อนหลัง , การแจ้งเตือนเมื่อใช้ความเร็วเกินกำหนดเป็นต้น

เมื่อคุณทราบถึงความต้องการแล้ว ก็ไม่ยากในการเลือกใช้งาน GPS ติดตามรถยนต์ตามแบบที่คุณต้องการได้

GPS ติดตามรถบรรทุก


อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่รถบรรทุกทุกคันจำเป็นต้องติด GPS ติดตาม หรือ GPS Tracking เพราะเนื่องจากกฏหมายจากกรมขนส่งที่ออกกฏบังคับใช้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 นั้น ให้รถบรรทุก 6-10 ล้อ ขึ้นไป ต้องติดตั้ง GPS ที่ได้รับการรับรองจากกรมขนส่งทางบกเท่านั้น ที่สามารถตรวจสอบการเดินทาง ตรวจสอบการใช้งานรถย้อนหลัง และแสดงตัวตนผู้ขับขี่ได้

นอกจากนั้นประโยชน์ของการติด GPS ติดรถบรรทุก นั้น ยังสามารถเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานได้หลากหลาย เช่น การตรวจวัดอุณภูมิ , การจำกัดความเร็ว , การตรวจวัดระดับน้ำมัน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ ธุรกิจตั้งแต่เล็กไปจนธุรกิจขนส่งที่มีขนาดใหญ่ ทำให้คุณควบคุมทุกอย่างได้ เพียงการมอนิเตอร์ผ่านโปรแกรม ก็สามารถติดตามงานของรถบรรทุกทุกคันได้แล้ว ทั้งในแอพฯ บนมือถือ หรือทางคอมพิวเตอร์ก็ทำได้เช่นกัน


คุณสมบัติพื้นฐานของ GPS Tracking ติดตามรถบรรทุก

  • Chipset 3G, 4G สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
  • Buzzer เสียงแจ้งเตือนอัตโนมัติภายในห้องโดยสาร
  • Case ตัวเครื่องผลิตจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อการผุกร่อน
  • GPS & GSM Antenna การรับส่งสัญญาณและพัฒนาเพื่อส่งข้อมูลที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น
  • Alert, Report การแจ้งเตือนฉุกเฉินในกรณียานพาหนะเกิดอุบัติเหตุ บกพร่อง ถูกขโมย หรือการจอดแช่นานเกินไป
  • การแจ้งเตือนการถูกถอดออก เพื่อป้องกันการทุจริต

การตั้งค่าแจ้งเตือนอัตโนมัติและการตรวจเช็คสถานะต่าง ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
ตำแหน่งของรถที่ต้องตรวจสอบได้ตลอด 24 ชั่วโมงหรือทุกสถานะของรถที่สามารถเลือกเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการ ระยะทางการใช้งานในแต่ละวัน และสุดท้ายข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 6-12 เดือน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ GPS Tracking ติดตามรถบรรทุกจะต้องสามารถแจ้งเตือนและตรวจเช็คอยู่เสมอ

ระบบแจ้งเตือนที่สามารถแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น

  • รถใช้ความเร็วเกินที่กำหนดไว้
  • รถถูกตัดสายไฟหรือถูกตัดสายสัญญาณ
  • คนขับรถไม่รูดใบขับขี่
  • รถมุ่งไปยังพื้นที่เฝ้าระวังหรือกำหนดไว้ เช่น จุดที่น่าสนใจ, พื้นที่เป้าหมายปลายทาง, โซนห้ามเข้า หรือชายแดนประเทศ
  • การขับรถออกนอกเส้นทาง
  • เบรกกระทันหันหรือการเร่งเครื่องกระทันหัน
  • การเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง
นอกจากนั้น การตรวจเช็คสถานะต่าง ๆ ก็สำคัญไม่เเพ้กัน ตัวอย่างเช่น
  • สถานะของเครื่องยนต์
  • การติด/ดับ ของเครื่อง
  • สถานะแบตเตอรี่
  • ความร้อน
  • ความเร็วของรถ ณ เวลาปัจจุบัน
  • เซ็นเซอร์ประตูต่าง ๆ
ทำให้เห็นว่าการที่กรมการขนส่งทางบกมีข้อกฎหมายบังคับใช้ให้รถบรรทุกทุกคันติด GPS Tracking ส่งผลดีต่อการควบคุมการจราจรและช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน รวมไปถึงช่วยผู้ประกอบการในการลดต้นทุนการเดินรถของบริษัท และต้นทุนทางโลจิสติกส์ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานพร้อมทั้งสถานะของรถบรรทุกที่ถูกนำไปใช้งานในแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันการทุจริตต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา

ซอร์ฟแวร์ (Software) สำหรับ GPS ติดตามรถยนต์

ซอฟแวร์ ที่ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ GPS ติดตามนั้น มีรูปแบบและการใช้งานที่แตกต่างกันตามยี่ห้อหรือผู้ให้บริการ GPS นั้น ๆ เพราะมีการพัฒนาและออกแบบไม่เหมือนกัน รวมไปถึงฟังก์ชั่นที่ใช้งานต่าง ๆ ด้วย

ซึ่งรูปแบบของซอฟแวร์นั้นก็มีอยู่หลัก ๆ สองประเภทได้แก่ :

โปรแกรมที่ใช้งานบนหน้าเว็บ
ข้อดี – สามารถอัพเดตโปรแกรมได้ง่ายไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมทีละเครื่องและไม่มีค่าใช้จ่าย License (ค่าลิขสิทธิ์เพิ่มเติมเมื่อใช้จำนวนมากกว่า 1 เครื่อง)
ข้อเสีย – ฟังก์ชั่นการทำงานน้อยกว่าแบบติดตั้งโปรแกรม การใช้งานหน้าเว็บบางรายอาจใช้งานได้รวดเร็ว บางรายอาจทำงานได้ช้าต้องรอข้อมูลนาน เพราะทำงานผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) กลางเพียงเครื่องเดียวขึ้นอยู่กับการจัดระบบของผู้ใช้บริการ

โปรแกรมที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์
ข้อดี – มีฟังก์ชั่นการใช้งานมากกว่า อาจจะทำงานให้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการออกแบบ
ข้อเสีย – ไม่สามารถดูจากภายนอกได้ต้องดูบนจอคอมพิวเตอร์ที่ลงโปรแกรมเท่านั้น
ประโยชน์ของการติดตั้งอุปกรณ์ GPS ติดตามรถ

บริษัทที่มักจะนำเทคโนโลยี GPS มาใช้นั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ๆ เนื่องจากในช่วงแรก ๆ ที่เทคโนโลยีตัวนี้เข้ามาในประเทศไทยมีราคาอุปกรณ์ที่ค่อนข้างสูง อาจถึงหลักหมื่นกว่าค่อคัน เมื่อพิจารณาจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นถือว่าไม่คุ้มค่า

แต่ในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ก็ได้นำระบบ GPS มาใช้ควบคู่กับการดำเนินงานมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจขนส่งหรือเกี่ยวข้องกับการใช้ยานพาหนะต่าง ๆ และเนื่องด้วยความต้องการในการติดตามและรักษาคุณภาพสินค้าหรือบริการให้ดีนั้น การใช้ GPS ติดตามรถยนต์จึงเป็นทางออกที่่สำคัญ

เมื่อมีการใช้งานอย่างแพร่หลายและมีหลายบริษัทให้เลือกมากขึ้น ระบบ GPS จึงมีราคาลดลง หรืออาจเพียงแค่เสียค่าบริการหลายเดือนเพียงแค่หลักร้อยเท่านั้น ซึ่งหากเทียบกับสิ่งที่จะได้รับนั้นถือว่าคุ้มค่าอย่างมาก

ประโยชน์ของการใช้ GPS ติดตามรถยนต์มีคร่าว ๆ ดังนี้:

ช่วยประหยัดและลดต้นทุน
ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง การซ่อมบำรุง ซึ่งเกิดจากการจอดแช่ติดเครื่องไว้ การขับออกนอกเส้นทาง การเร่งเครื่อง เป็นต้น

ป้องกันการนำรถไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
จะช่วยลดพฤติกรรมการใช้งานรถที่ไม่เหมาะสม เช่น การจอดพักนานเกินควร, การจอดติดเครื่องไว้เป็นเวลานาน หรือนำรถยนต์บริษัทไปใช้งานส่วนตัว

เพิ่มความปลอดภัยในทรัพย์สิน
ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ความเร็วที่ไม่เหมาะสม ติดตามได้หากยานพาหนะสูญหาย

บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้คุณสามารถจัดสรรเวลาการดำเนินงานได้ดีขึ้น ทำให้ใช้งานยานพาหนะได้เต็มประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถประมาณเวลาในการเดินทางได้

ควบคุมคุณภาพในการจัดส่ง
เมื่อคุณสามารถติดตามได้ตลอดเวลา นั้นหมายถึงคุณสามารถติดตามและตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ยกตัวอย่างเช่น ระดับอุณภูมิในห้องเย็น ที่ใช้ในการขนส่งอาหารสด อาหารทะเล, หรือเวลาที่ต้องใช้ในการจัดส่งแต่ละรอบ เป็นต้น

เพิ่มความไว้วางใจและความพอใจของลูกค้า
เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้าและการแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ประกอบการจะรู้สึกดีเพราะสามารถติดตามรถของบริษัทได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถบอกกำหนดการกับลูกค้าได้

สรุปแล้ว GPS ติดตามรถยนต์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับหลาย ๆ หน่วยงาน ที่ต้องใช้ยานพาหนะในการควบคุมจำนวนมาก เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ, กองทัพ, ธุรกิจขนส่งต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานที่กล่าวมาจะใช้ระบบติดตามตำแหน่งรถยนต์ เพื่อการประสานงาน ประเมินผล และดำเนินงาน

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้